Winnie The Pooh Bear

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Lesson 2




Diary notes  N0 . 2

Tuesday 25 August 2558

     Summary of academic science experiences for children.

           (สรุปการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย)



ความรู้ที่ได้รับ( Know ledge)
  
   พัฒนาการทางด้านสติปัญญา (cognitive  development)
ความหมาย  ความเจริญงอกงามด้านความสามารถทางภาษาและการคิดของแต่ละบุคคล

   พัฒนาขึ้นมาจากปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับสิ่งแวดล้อม
    -เริ่มแรกตั้งแต่เกิด ยังไม่สามารถแยกตัวเองออกจากสิ่งแวดล้อมได้
    -การปฏิสัมพันธ์จะทำให้เด็กรู้จัก  "ตน"


-การมอง  เครื่องมือ  ตา  เครื่องช่วย  จดบันทึก
- ฟัง          "--------"    หู   "-----------"   อัดเสียง
-ลิ้มรส       "-------"     ลิ้น "----------"    บึนทึก
-ดม           "-------"     จมูก

   -การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อให้เกิดความสมดุล(equilibrium)
   -การปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อให้เกิดการสมดุล
กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (interaction) ประกอบด้วย 2 กระบวนการ
   -กระบวนการการดูดซึม (assimilation)
     เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมทราบและดูดซึมประสบการณ์ใหม่  ให้รวมอยู่ใน                      โครงสร้าง      ของสติปัญญา (cognitive  structure)
กระบวนการปรับโครงสร้าง (accommodation)
  -การเปลี่ยนแบบโครงสร้างเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งใหม่

สรุป
สติปัญญาจึงเกิดการปรับแนวคิดและพฤติกรรมจนเข้าสู่สภาวะสมดุล

    

     ทักษะ(skills)
          -การคิดวิเคราะห์
          -การตอบคำถาม


     การนำไปใช้(Adoption) 

          -นำพัฒนาการเรื่องสติปัญญา การปฏิสัมพันธ์ไปปรับให้เข้ากับเด็กเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้

     

     ประเมิน(evaluation)

           self - แต่งกายเรียบร้อย , ตั้งใจเรียน
          friend - ตั้งใจเรียนและตั้งใจตอบคำถาม
          teacher - มีน้ำเสียงที่ชักเจนน่าฟัง มีการคอยกระตุ้นนักศึกษาโดยการใช้คำถาม















Lesson 1


Diary notes  N0 . 1

Tuesday 11 August 2558

     Summary of academic science experiences for children.

           (สรุปการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย)



       ความรู้ที่ได้รับ( Know ledge)

          1.คุณธรรม - จริยธรรม
          2.มีความรู้
          3.มีทักษะด้านปัญญา
       การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แบ่งเป็น3 คำสำคัญคือ
          1.การจัดประสบการณ์
          2.วิทยาศาสตร์ - สาระสำคัญ
          3.เด็กปฐมวัย -พัฒนาการ


       
       ทักษะ(skills)
          -การคิดวิเคราะห์
          -การตอบคำถาม


     การนำไปใช้(Adoption

          -การสร้างบล็อกเป็นของตนเอง
          -การส่งงานที่ถูกต้องและทันเวลา
          -การใช้เทคโนโลยีกับการเรียน

    

 ประเมิน(evaluation)

           self - ขาดเรียนในคาบนี้ (เนื้อหาทั้งหมดได้อ้างอิงมาจากบล็อกของ  น.ส.จิดาภา ร่าเริง









สรุปโทรทัศน์ครู





                                                             
                                                                 ดูเพิ่ม คลิก!!ที่นี้เลยคะ


ผลไม้แสนสนุก คุณครูไพพร ถิ่นทิพย์ ร.ร.บ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร)
  การสอนโดยใช้กิจกรรมสำหรับเด็กอนุบาล แต่คุณครูไพพร ถิ่นทิพย์ ร.ร.บ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร) จังหวัดแพร่ ใช้วิธีการที่พาเด็กไปศึกษาจากสถานที่จริง ในที่นี้คือการไปศึกษาเรื่องผลไม้ที่ตลาด โดยจะได้บูรณาการกิจกรรมต่างๆ เข้าไปในการทำกิจกรรมครั้งนี้

คุณครูก็จะให้เด็กท่องคำคล้องจอง(จ่ำจี่ผลไม้)ตามคุณครูที่ระวรรค  จากนั้นก็จะสนทนากับเด็กถึงชื่อของผลไม้ที่ปรากฏอยู่ในคำคล้องจอง ซึ่งจะเป็นการฝึกในการเตรียมความพร้อมเรื่องผลไม้
ในกิจกรรมในครั้งนี้เด็กจะได้รู้ถึง
-ชื่อของผลไม้ชนิดต่างๆ (Name)
-ลักษณะ(Nature)
-รสชาติ (Toppings) ( เปรี้ยว เช่นส้ม) 
-ประโยชน์ของผลไม้ (Benefits) (ทำให้ร่างกายแข็งแรง)
จากนั้นคุณครูก็พาเด็กๆไปทัศนะศึกษาที่ตลาดสด
เด็กๆจะได้เห็นผลไม้ที่เป็นของจริง  ได้สัมผัส   ได้จับต้อง   ได้ลิ้มรส เป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงทำให้เด็กได้เรียนรู้ได้เร็ว ง่ายต่อการเข้าใจ
ซึ่งทั้งหมดที่เด็กๆได้เรียนรู้ก็เป็นวิทยาศาสตร์ทั้งหมด (เช่น  ลักษณะ รสชาติ  ประโยชน์  สีของผลไม้ เป็นต้น)










สรุปวิจัย(research)

    

สรุวิจั


ชื่อวิจัย:การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย = Construction of activity packages for developing basic science process skills of preschoolers
ผู้วิจั
: จุฑามาศ แสนพรหม

มหาวิทยาลัย:  เชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาประถมศึกษา



การศึกษาเรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสําหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มเป้ าหมายเป็นเด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปี ที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2555 โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหลวง สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองลําพูน จํานวน 24คน โดยการเลือกตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย จํานวน 8 ชุด 24 กิจกรรม 2) แบบทดสอบที่ใช้วัดทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่เป็นเชิงรูปภาพ จํานวน 40ข้อ



วัตถุประสงค์กำรวิจัย
 1. เพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นพื้นฐานส าหรับเด็กปฐมวัย
 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย

ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม


นิยามศัพท์เฉพาะ
 เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย หญิง อายุ 5-6 ปีที่เรียนระดับชั้นอนุบาล
ปี ที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2555โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหลวง  จํานวน 24 คน
 ชุดกิจกรรม หมายถึง กิจกรรมที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเพื่อให้ครูนำไปจัดกิจกรรม
เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย จํานวน 24 กิจกรรม

ครอบคลุมเนื้อหา จํานวน 8 หน่วยการเรียนรู้




ตัวอย่างชุดกิจกรรม




















































วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ? เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันนักวิทยาศาสตร์น้อย 2556

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เป็นโครงการที่พัฒนากิจกรรมสำหรับเด็กระดับปฐมวัย ในด้านกระบวนการคิด สร้างพื้นฐานความพร้อมในการพัฒนาต่อยอดไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ สสวท. ดังนั้น สสวท. จึงได้เข้าร่วมโครงการนี้ภายใต้ความร่วมมือกับมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มหาวิทยาลัย และองค์กรเอกชนต่าง ๆ โดยมีโรงเรียนระดับปฐมวัยที่ได้ใช้แนวทางของโครงการเกินกว่าครึ่งหนึ่งของโรงเรียนทั้งหมดที่จัดการศึกษาปฐมวัยทั่วประเทศ” ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าว
กิจกรรม   “โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?” เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรดิน น้ำ อากาศและพลังงาน จึงมุ่งหวังให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมองเห็นประโยชน์ของทรัยาการเหล่านี้จากการทำกิจกรรม
 มี 6 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมหวานเย็นชื่นใจ ความลับของดิน ถึงร้อนก็อร่อยได้ มหัศจรรย์กังหันลม ว่าวเล่นลม โมบายเริงลม
กิจกรรม “หวานเย็นชื่นใจ” เด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง


กิจกรรม “ความลับของดิน” เด็กๆ ช่วยกันทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าดินมีองค์ประกอบเป็นหินที่ผุพังสลายตัว ซากพืชซากสัตว์ อากาศ และน้ำ ดังนั้น ส่วนที่เป็นของแข็งที่อยู่ในดินจึงมีขนาดแตกต่างกัน เมื่อเทน้ำลงไป อากาศก็จะออกมาจากดินเป็นฟองให้เห็น และจะพบว่าอนุภาคที่มีขนาดใหญ่จะตกตะกอนลงสู่ก้นภาชนะ และอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าก็จะค่อยๆ ตกลงมาเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก เมื่อการตกตะกอนสิ้นสุดลง จะมองเห็นดินเป็นชั้นๆ ส่วนซากพืชซากสัตว์ก็จะลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำ ทำให้เห็นองค์ประกอบของดินด้วย  เป็นต้น

ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าวต่อไปว่า “ประโยชน์ที่ได้รับจากงานนี้คือประสบการณ์การเรียนรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็กๆ ปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การได้เข้าใจโลกในมุมกว้าง ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการเป็นพื้นฐานที่จะต่อยอดการเรียนรู้ในระดับที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป”